กริณี, กรินี หมายถึง [กะ-] (แบบ) น. ช้างพัง, ใช้ว่า กิริณี หรือ กิรินี ก็มี. (ส. กริณี;ป. กรินี).
[กฺริดตะยะ-] (โบ; กลอน) ก. ทํา เช่น พระบาทสญไชยก็ชําระกริตยภิษิตสรรพางค์. (ม. คําหลวง มหาราช). (ส. กฺฤตฺย).
[กะ-] (แบบ) น. ช้าง, ช้างพลาย, เช่น กรินไกรอาสนอัศวาชี.(ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส.).
น. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น เบื้องนั้นบรรลุผู้เผือกกรินทร์หนึ่งฤๅ. (ลิลิตพยุหยาตรา), ใช้เป็น กเรนทร์ ก็มี. (ส. กรินฺ + อินฺทฺร= กรินทร์ = ช้างใหญ่, ช้างศึก, ช้างพระอินทร์).
ดู กริน.
[กะ-] ดู กริณี.
[กฺริบ] ก. ขริบ, ตัดให้พลันขาดด้วยกรรไกรโดยไม่มีเสียงหรือมีเสียงเช่นนั้น เช่น กริบผม กริบชายผ้า, ตัดขาดโดยฉับไวและแนบเนียนด้วยความคม. ว. มาก เช่น คมกริบ;โดยปริยายหมายความว่าเงียบไม่มีเสียงดัง เช่น เงียบกริบ ย่องกริบ.
[กฺริม] น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กในสกุล Trichopsis วงศ์ Anabantidaeพบทั่วไป รูปร่างคล้ายปลากัด ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและสีไม่สดสวย มักมีแถบสีเข้มพาดตลอดข้างตัว ๒-๓ แถบ ที่พบมากได้แก่ กริมข้างลาย (T. vittatus), กัดป่า ก็เรียก.